มลพิษทางอากาศ ภัยใกล้ตัวที่เราคาดไม่ถึง

มลพิษทางอากาศ ภาวะอากาศที่มีสิ่งเจือปนหรือล่องลอยรวมอยู่ในอากาศที่เราสูดดมเข้าไป แม้อาจจะมองไม่เห็นด้วยตา เช่น ฝุ่นละออง ก๊าซธรรมชาติ หรือมลพิษจากท่อไอเสียของรถยนต์ เป็นต้น ถือว่าเป็นภัยร้ายใกล้ตัวที่สร้างผลกระทบและอันตรายต่อสุขภาพของเราได้อย่างมากมาย

มลพิษทางอากาศไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะในเมืองใหญ่ที่แออัด หรือในเขตอุตสาหกรรมเท่านั้น กลับกันมลพิษทางอากาศสามารถแพร่กระจายไปตามภูมิภาคต่าง ๆ ของประเทศได้อย่างรวดเร็ว ในบทความนี้มาดูกันว่าความร้ายกาจของมลพิษทางอากาศ ส่งผลต่อชีวิตของเราอย่างไรบ้าง และเราควรรับมืออย่างไร

 

มลพิษทางอากาศคืออะไร

มลพิษทางอากาศ คือ อากาศที่มีสิ่งสกปรกหรือสารพิษเจือปนอยู่ในอากาศเกินค่ามาตรฐาน จนทำให้คุณภาพอากาศอยู่ในขั้นวิกฤต มีรูปแบบเป็นไอหมอกพิษ เช่น PM10, PM2.5 รวมถึงก๊าซโอโซน โดยมีแหล่งกำเนิดมาจากครัวเรือน การทำอุตสหกรรม รวมถึงไฟป่า

หมอกพิษที่ปกคลุมหลายเมืองในโลกรวมถึงในประเทศไทยของเรา เป็นไอน้ำที่ปะปนไปด้วยสารอันตรายในรูปแบบของแข็งโมเลกุลขนาดเล็กและไอก๊าซจากการเผาไหม้ เช่น

  • เขม่าควันดำ
  • ฝุ่นละออง
  • ควันไฟ
  • ละอองเกสร
  • ก๊าซมีเทน
  • ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์
  • ก๊าซซัลเฟอร์

ในช่วงฤดูกาลที่ลมสงบนิ่ง หมอกควันพิษเหล่านี้จะลอยตัวอยู่อย่างหนาแน่นจนทำให้อากาศในบริเวณนั้นมีคุณภาพอากาศที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ส่วนใหญ่จะพบใน เขตเมืองที่การจราจรแออัด เขตโรงงานอุตสาหกรรม หรือในจังหวัดที่อยู่ในแนวภูเขาที่เกิดไฟป่า

 

ต้นเหตุของมลพิษทางอากาศ

มลพิษทางอากาศ เกิดจากการเผาไหม้ของสารประกอบต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ทำให้เกิดเขม่าหรือก๊าซพิษลอยออกมาปะปนในอากาศ โดยในบทความนี้แบ่งต้นเหตุของการสร้างมลพิษทางอากาศออกเป็น 3 ส่วน คือ

  1. จากการใช้ชีวิตประจำวันในบ้าน

    การใช้ชีวิตประจำวันในบ้านหรือที่พักอาศัย ไม่ว่าจะเป็นการใช้แก๊สหุงต้มอาหาร หรือสารเคมีจากสเปรย์ที่ใช้ในบ้าน ก็มีการปล่อยมลพิษออกสู่อากาศอยู่เป็นจำนวนมากเช่นกัน

  2. จากโรงงานอุตสาหกรรมและคมนาคม

    กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม กิจกรรมต่าง ๆ ของการเกษตร การใช้ยานพาหนะบนท้องถนน ล้วนมีการเผาไหม้ของเชื้อเพลิงที่ก่อให้เกิดก๊าซพิษ รวมถึงอนุภาคเขม่าขนาดเล็กที่มองไม่เห็น ล่องลอยออกมาในอากาศในปริมาณสูง ซึ่งได้แก่

    ต้นเหตุของมลพิษทางอากาศ

    • การจราจรบนท้องถนน
    • การก่อสร้าง
    • การผลิตกระแสไฟฟ้า
    • ระบบทำความร้อนในอาคาร
    • การเผาไหม้ในการทำเกษตรกรรม
    • การกำจัดขยะ
    • กระบวนการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรม
  3. จากภัยธรรมชาติ

    ภัยธรรมชาติ

    ผลกระทบจาก “ไฟป่า” เป็นผลกระทบที่สร้างอากาศพิษในวงกว้างได้มากที่สุด ไม่ว่าไฟไหม้ป่านั้นจะมาจากธรรมชาติ หรือการเผาโดยมนุษย์ ก็ทำให้ไฟลุกลามไปเป็นบริเวณกว้าง และปลดปล่อยเขม่าควันขนาดใหญ่ที่เป็นพิษต่อการหายใจได้

    หมอกควันพิษไม่ได้เกิดขึ้นแล้วหายไปในชั้นบรรยากาศ แต่เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ ได้ด้วย “ลม” ทิศทางของลมช่วยให้เขม่าควันเคลื่อนไปปกคลุมเมืองต่าง ๆ แม้อยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตรได้

 

มลพิษทางอากาศส่งผลต่อชีวิตอย่างไร

องค์การอนามัยโลก หรือ WHO (World Health Organization) ให้ข้อมูลว่า ในแต่ละปีมลพิษทางอากาศเป็นสาเหตุที่ทำให้คนเสียชีวิตสูงถึง 7 ล้านคน ซึ่งในขณะนี้ 9 ใน 10 ของคนทั่วโลกหายใจเอาอากาศที่ปะปนไปด้วยมลพิษระดับสูงเข้าสู่ร่างกายอยู่ตลอด

ส่งผลต่อร่างกายทันที
สำหรับคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำเมื่อร่างกายสัมผัสกับอากาศที่ปนเปื้อนด้วยมลพิษที่มีความเข้มข้นสูง จะทำให้เกิดอาการ

  • ไอ จาม
  • ระคายเคืองดวงตา
  • วิงเวียน
  • ปวดหัว

ส่งผลต่อสุขภาพในระยะยาว
แม้มีภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่เมื่อสูดดมอากาศพิษเป็นเวลานานก็ส่งผลต่อร่างกายเช่นกัน  เนื่องจากโมเลกุลของฝุ่นมีขนาดเล็กอย่าง PM2.5 สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ง่าย เพราะมีขนาดเล็กมากจนขนจมูกไม่สามารถดักจับละอองเหล่านี้ ทำให้เกิดโรคยอดฮิตได้แก่

  • โรคหลอดเลือดในสมอง
  • โรคหัวใจ
  • โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง (COPD)
  • โรคมะเร็งปอด
  • โรคติดเชื้อเฉียบพลันของระบบหายใจส่วนต้น

 

การรับมือกับมลพิษทางอากาศ

ความรุนแรงของมลพิษทางอากาศ เป็นภัยอย่างหนึ่งที่ควบคุมได้ยาก เนื่องจากฝุ่นพิษเหล่านี้ล่องลอยอยู่ในอากาศเป็นบริเวณกว้าง แม้แต่ฝนตกก็ไม่สามารถชะล้างปัญหานี้ให้หมดไปได้ ทางเดียวที่เราทำได้คือป้องกันและรับมือกับมลพิษทางอากาศด้วยตัวเอง ด้วยการ ลดการปล่อยอากาศเสียสู่ภายนอก เช่น

  • ลดการเผาไหม้ที่ทำให้เกิดเขม่าควัน
  • ใช้สารเคมีในครัวเรือนให้น้อยลง
  • ลดการใช้รถยนต์ หันไปใช้ขนส่งสาธารณะ
  • กำจัดขยะให้ถูกวิธี

 

ป้องกันตัวเองเมื่อมลพิษทางอากาศสูงเกินมาตรฐาน

ควรตรวจสอบคุณภาพอากาศก่อนออกจากที่พัก ถ้าวันไหนที่พบว่ามีค่าสูงที่เป็นอันตรายต่อระบบหายใจ ควรสวมหน้ากากอนามัยสำหรับป้องกันฝุ่นละอองในอากาศ และหลีกเลี่ยงการอยู่ในที่โล่งแจ้งเป็นเวลานาน รวมถึงปิดที่พักอาศัยให้มิดชิด หรือใช้เครื่องฟอกอากาศในบ้านเพื่อปรับอากาศภายในบ้านให้สะอาดขึ้นและช่วยลดค่าฝุ่นละออง

มลพิษทางอากาศ ประกอบไปด้วย ฝุ่นละอองขนาดเล็กและก๊าซที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ ปัจจุบันมลพิษทางอากาศถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางด้านสุขภาพที่ร้ายแรงที่สุด เป็นสาเหตุหลักของโรคหัวใจ หลอดเลือด และโรคระบบทางเดินหายใจ ปัจจุบันทางภาครัฐและเอกชนได้มีการออกมาตรการ การลดมลพิษทางอากาศออกมาเป็นจำนวนมาก ซึ่งทุกคนสามารถช่วยแก้ปัญหาได้ด้วยการใช้พลังงานให้น้อยลง ประกันติดโล่ห่วงใยคุณ



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันมะเร็ง
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    44,729
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    12,182
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    8,137