ซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง อาจส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิง

ซีสต์ในรังไข่พบบ่อยในผู้หญิงที่มีประจำเดือน และสามารถเกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไปด้วย มีทั้งชนิดไม่ร้ายแรงและชนิดร้ายแรงที่เสี่ยงเป็นมะเร็ง การให้ความสำคัญกับการตรวจภายในประจำปี พร้อมกับสังเกตอาการตัวเองว่าเมื่อไหร่ควรไปพบแพทย์ เพื่อเข้ารับการวินิจฉัยและรักษาได้อย่างทันท่วงที มีส่วนช่วยลดความเสี่ยงจากภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ เช่น การแตกของซีสต์อาจทำให้เกิดการติดเชื้อ หรือกลายเป็นก้อนเนื้อร้าย มาทำความเข้าใจเกี่ยวกับซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง อาการแบบไหนควรรีบไปพบแพทย์

ซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง อาการแบบไหนต้องไปพบแพทย์

ซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง

ใครกำลังกังวลว่า เป็นซีสที่มดลูกอาการรุนแรงมั้ย หรือซีสต์ในรังไข่อาการเป็นยังไง? มาเช็คสัญญาณเตือนกันได้เลยครับ ถ้าคุณมีอาการเหล่านี้ประกันติดโล่แนะนำให้รีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด และเข้ารับการรักษาทันที โดยวิธีการรักษาสามารถทำได้หลายวิธีขึ้นอยู่กับความรุนแรงของอาการและชนิดของซีสต์ด้วย

  • ปวดท้องรุนแรง : ปวดท้องเฉียบพลัน ปวดมากขึ้นเมื่อมีประจำเดือน
  • คลื่นไส้ อาเจียน : รู้สึกคลื่นไส้ อาเจียน อาการคล้ายคนท้อง
  • เป็นไข้ : อุณหภูมิร่างกายสูงขึ้นผิดปกติ
  • รู้สึกแน่นท้อง : รู้สึกอึดอัด แน่นท้อง หายใจลำบาก
  • รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด : รู้สึกอ่อนเพลีย หน้ามืด เหมือนจะเป็นลม

ซีสต์ในรังไข่คืออะไร

นพ.ชาญชัย เลาหประสิทธิพร แพทย์ที่ปรึกษาศูนย์สุขภาพหญิง โรงพยาบาลพญาไท 3 อธิบายว่า “ซีสต์” มาจากภาษาอังกฤษว่า “Cyst” มีความหมายว่า “ถุงน้ำ” ดังนั้น ไม่ว่าอะไรก็ตามที่มีเปลือกและมีน้ำหรือของเหลวภายในก็จะเรียกว่า “ซีสต์” เหมือนกันทั้งหมด

ที่มา: โรงพยาบาลพญาไท

ดังนั้น ซีสต์ในรังไข่ (Ovarian Cyst) คือ ภาวะที่มีถุงน้ำเกิดขึ้นบริเวณรังไข่หรือรอบรังไข่ พบได้บ่อยในผู้หญิงทุกวัย อาจเกิดจากความผิดปกติของรังไข่ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในช่วงตกไข่ หรือเยื่อบุมดลูกเจริญผิดที่ โดยซีสต์หรือถุงน้ำในรังไข่นี้ แบ่งออกเป็น 2 ชนิดใหญ่ ๆ คือ

1. ซีสต์จากการทำงานตามปกติของรังไข่ (Functional Cyst)

 ซีสต์จากการทำงานตามปกติของรังไข่ (Functional Cyst)

เป็นถุงน้ำในรังไข่ที่เกิดขึ้นได้ในคนปกติทั่วไป ไม่ทำให้เกิดอันตรายต่อร่างกาย และจะหายไปเองโดยไม่ต้องรักษา มักเกิดในช่วงมีรอบเดือนที่ไข่จะเจริญขึ้นในถุงน้ำ โดยถุงน้ำนี้จะอยู่ภายในรังไข่ ส่วนใหญ่ถุงน้ำจะแตกและปล่อยไข่ออกมาเรียกว่า การตกไข่ มักมีขนาดเล็ก (ไม่เกิน 5 ซม.) และยุบตัวไปเองภายใน 2-4 สัปดาห์ ถ้าซีสต์ไม่ยุบตัว ของเหลวที่อยู่ภายในถุงน้ำจะเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ อาจทำให้มีเกิดอาการปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน แนะนำให้รีบพบแพทย์

2. เนื้องอกซีสต์ในรังไข่ (Pathological Cyst)

เนื้องอกซีสต์ในรังไข่ (Pathological Cyst)

เป็นถุงน้ำที่เกิดจากเซลล์ที่ผิดปกติ ไม่สามารถหายได้เองถ้าไม่ได้รับการรักษาที่เหมาะสม อาจเป็นได้ทั้งเนื้องอกชนิดไม่ร้ายแรง หรือเนื้องอกชนิดร้ายแรงที่เป็นมะเร็ง

  • เนื้องอกซีสต์ในรังไข่ชนิดไม่ร้ายแรง เช่น ซีสต์ชนิด Endometrioma เกิดจากเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ไปยังรังไข่ และฮอร์โมนเพศหญิงไปกระตุ้นให้เซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกที่เจริญผิดที่นี้เกิดการเจริญเติบโตขึ้น ถ้าอักเสบมาก ๆ จะกลายเป็นถุงน้ำที่มีของเหลวสีคล้ายช็อกโกแลต หรือที่เรียกกันว่า ช็อกโกแลต ซีสต์ (Chocolate Cyst)
  • เนื้องอกซีสต์ในรังไข่ชนิดร้ายแรง มักวินิจฉัยในระยะต้นได้ยากและไม่ค่อยแสดงอาการอะไรเลย ส่วนใหญ่จะตรวจพบเมื่อเป็นในระยะรุนแรงแล้ว เมื่อถุงน้ำในรังไข่มีขนาดใหญ่ขึ้น ผู้ป่วยมักมีอาการปวดบริเวณอุ้งเชิงกรานเรื้อรัง และจะปวดรุนแรงมากขึ้นในช่วงที่มีประจำเดือน

ถุงน้ำหรือซีสต์ในรังไข่กับมะเร็งรังไข่ต่างกันยังไง ประกันติดโล่สรุปให้


ซีสต์ในรังไข่หรือถุงน้ำในรังไข่ มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล การตกไข่ไม่ปกติ ภาวะเยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ สามารถหายได้เองแต่บางรายอาจต้องผ่าตัด ส่วนมะเร็งรังไข่ เป็นเนื้องอกซีสต์ในรังไข่ชนิดร้ายแรง มักเกิดจากปัจจัยเสี่ยงอย่างพันธุกรรม มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งรังไข่ หรือการใช้ฮอร์โมนทดแทนหลังวัยหมดประจำเดือน ที่จะต้องรักษาด้วยการผ่าตัด หรือวิธีการเฉพาะทางเท่านั้น

PCOS คืออะไร

 PCOS คืออะไร

โรคถุงน้ำรังไข่หลายใบ (Polycystic Ovary Syndrome: PCOS) เป็นภาวะความผิดปกติของระบบต่อมไร้ท่อหรือฮอร์โมนในร่างกาย ทำให้การตกไข่ผิดปกติหรือไม่ตกไข่เลย พูดง่าย ๆ ก็คือ ภาวะที่ประจำเดือนมาไม่ปกติ ประจำเดือนมาน้อยแบบกะปริบกะปรอย มักพบในผู้หญิงที่มีน้ำหนักเกิน มีฮอร์โมนเพศชาย (Androgen) สูง นำไปสู่การเกิดถุงน้ำขนาดเล็กจำนวนมากในรังไข่ เสี่ยงต่อการมีเยื่อบุโพรงมดลูกหนาผิดปกติ และเสี่ยงเป็นมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูกในอนาคตได้

สรุป สังเกตอาการซีสต์ในรังไข่ รักษาได้ทันท่วงที

ซีสต์ในรังไข่มักแสดงอาการแตกต่างไปในแต่ละบุคคล ขึ้นอยู่กับความรุนแรงและชนิดของซีสต์ แม้ซีสต์ส่วนใหญ่ไม่เป็นอันตรายและหายไปได้เอง แต่บางชนิดก็อาจส่งผลต่อสุขภาพอย่างรุนแรง ดังนั้น การทำความเข้าใจและคอยสังเกตอาการตัวเอง หมั่นตรวจภายในประจำปี ก็จะช่วยลดความรุนแรงของอาการ ลดโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งได้ สำหรับใครที่มีความเสี่ยงหรือต้องการหลักประกันด้านสุขภาพ การทำประกันมะเร็ง ให้คุณไม่ต้องกังวลถ้าตรวจเจอมะเร็ง ประกันก็พร้อมจ่ายเงินก้อนแรกทันที ให้คุณมีเงินค่ารักษาพยาบาลอย่างแน่นอน



สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่
สนใจ ประกันมะเร็ง
การกดส่งข้อมูลแสดงว่าคุณอ่านและรับทราบ
นโยบายความเป็นส่วนตัว เรียบร้อยแล้ว

บทความแนะนำ

  • ข้อสอบใบขับขี่พร้อมเฉลย ล่าสุด 2567

    รวมเฉลยข้อสอบใบขับขี่ 2566 อย่างละเอียด ไม่อยากสอบหลายรอบมาเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสอบจริงกับแนวข้อสอบใบขับขี่ภาคทฤษฎี 50 ข้อพร้อมเฉลย
    51,190
  • 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า 2024 น่าสนใจ ขายในไทย จดทะเบียนได้

    รวม 7 รุ่น มอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าจดทะเบียนได้ มีขายในไทย 2023 พร้อมแนะนำวิธีเลือกมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้าให้ตอบโจทย์การใช้งาน และการทำประกันรถมอเตอร์ไซค์ไฟฟ้า
    13,096
  • วางแผนต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน และต้องเตรียมอะไรบ้าง?

    ไม่อยากขาดต่อใบขับขี่ ทำความเข้าใจการต่อใบขับขี่ล่วงหน้าได้กี่เดือน เพื่อวางแผนและเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้พร้อม ป้องกันการทำผิดกฎหมายจราจร
    9,127